fbpx

กระดาษความร้อน (กระดาษ สลิป) Top Coat และ Non-Top Coat แตกต่างกันอย่างไร?

กระดาษสลิปไม่ว่าจะเป็นสลิปการชำระเงินที่ได้จากตู้ ATM สลิปการโอนชำระหรือใบเสร็จตามร้านค้าหรือร้านอาหาร เราจะสังเกตได้ว่า ลักษณะของเนื้อกระดาษแตกต่างจากกระดาษทั่วไปที่เราใช้เขียนกัน กล่าวคือ เนื้อกระดาษจะมีความลื่นมันหรือบางกว่า แต่ความพิเศษของกระดาษที่นำมาใช้พิมพ์สลิปไม่ใช่แค่นั้น 

กระดาษสลิป จริง ๆ แล้ว พิมพ์มาจากกระดาษที่เรียกว่า “กระดาษความร้อน” หรือ “Thermal Paper” ที่มีคุณสมบัติพิมพ์ได้โดยที่ไม่ต้องเติมน้ำหมึก ช่วยให้พิมพ์ชิ้นงานได้รวดเร็ว ใช้กับเครื่องพิมพ์ความร้อน (Thermal Printer) ที่มีขนาดเล็ก ช่วยให้พิมพ์ชิ้นงานได้สะดวกและรวดเร็ว เหมาะกับการใช้พิมพ์สลิปต่าง ๆ หรือใบเสร็จ

ทั้งนี้ กระดาษสลิปหรือกระดาษความร้อน ก็ยังมีประเภทที่แบ่งย่อยลงไปได้อีก 2 ประเภท ที่มีคุณสมบัติต่างกัน เหมาะกับใช้พิมพ์ชิ้นงานต่างกัน ได้แก่ 

  1. กระดาษสลิป ประเภท Top Coat
  2. กระดาษสลิป ประเภท Non Top Coat 

ธุรกิจของคุณจะเหมาะกับกระดาษสลิปประเภทไหน มาทำความรู้จักคุณสมบัติพร้อมวิธีเลือกซื้อ ด้านล่างนี้

ตัวอย่างกระดาษสลิป Thermal Paper

กระดาษสลิปแบบ Top Coat และ Non-Top Coat แตกต่างกันอย่างไร? 

1. กระดาษสลิปชนิด Top Coat

กระดาษสลิปชนิด Top Coat เป็นอย่างไร

กระดาษสลิปชนิด Top Coat (Thermal Top Coat) คือ กระดาษความร้อนที่มีสารเคลือบอยู่ที่ผิวด้านบนของเนื้อกระดาษ ทำหน้าที่ปกป้องสารละลายประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ น้ำมัน และหมึก ฯลฯ กระดาษความร้อนหรือกระดาษสลิปชนิด Top coat จึงมีความคงทนมากกว่าแบบ Non-Top Coat ลวดลาย ข้อความที่ถูกพิมพ์ลงกระดาษชนิดนี้ จึงคงทนและยาวนาน 

ลักษณะของกระดาษสลิปชนิด Top Coat ส่วนใหญ่จะมีความหนาตั้งแต่ 65 แกรม ขึ้นไป เหมาะสำหรับใช้พิมพ์ชิ้นงานที่ต้องการให้ข้อมูลบนกระดาษคงทน ไม่จางหายง่าย ๆ 

ตัวอย่างสลิปที่นิยมใช้กระดาษความร้อนชนิด Top Coat

  • บิลค่าน้ำประปา
  • บิลค่าไฟ
  • ใบเสร็จการชำระเงินจากหน่วยงานราชการ 

2. กระดาษสลิป ชนิด Non Top Coat

กระดาษสลิป ชนิด Non Top Coat เป็นอย่างไร

กระดาษสลิปชนิด Non-Top coat (Thermal Non-Top Coat) คือ กระดาษความร้อนชนิดปกติที่ไม่ได้เคลือบสารปกป้องสารละลายประเภทต่าง ๆ เอาไว้ ทำให้กระดาษชนิดนี้ไวต่อสารละลาย ข้อความหรือลวดลายที่พิมพ์ลงบนกระดาษจึงอาจเลือนหายได้เมื่อโดยตัวทำละลาย เช่น น้ำ เหงื่อจากมือ แอลกอฮอล์ รวมไปถึงเมื่อสัมผัสกับพลาสติก 

เนื่องจากกระดาษสลิปประเภทนี้ ไม่ได้มีสารเคลือบป้องกันจึงมีราคาถูกกว่า เหมาะกับใช้พิมพ์ชิ้นงานที่ไม่ได้ต้องการความคงทนของข้อความ อาจเป็นสลิปหรือใบเสร็จที่ใช้ยืนยันการชำระ รับทราบข้อมูล หรือใช้งานแค่วันเดียว คุ้มค่าและเหมาะสมกว่าการใช้กระดาษสลิปชนิด Top Coat ที่ราคาสูงกว่า

ตัวอย่างสลิปที่นิยมใช้กระดาษความร้อนชนิด Non-Top Coat

  • ใบเสร็จจาก 7-11
  • ใบเสร็จจากห้างสรรพสินค้า
  • ตั๋วจอดรถรายวัน 
  • บัตรคิว

วิธีตรวจสอบว่าเป็นกระดาษสลิปเป็นแบบ Top Coat หรือ Non Top coat 

เมื่อรู้คุณสมบัติและข้อแตกต่างในการเลือกใช้กระดาษสลิปทั้งชนิด Top Coat และ Non-Top Coat แล้ว
เมื่อจะต้องเลือกซื้อ จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นกระดาษชนิดที่ต้องการ ลองทดสอบได้ด้วย 3 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1. สัมผัสเนื้อกระดาษด้วยนิ้วมือ 

เราสามารถทดสอบว่า กระดาษที่ใช้หรือเลือกซื้อเป็นกระดาษปอนด์ทั่วไปหรือกระดาษความร้อนได้โดยการสัมผัส โดยกระดาษความร้อนจะให้ผิวสัมผัสที่เรียบเป็นมันมากกว่ากระดาษทั่วไป และเขียนด้วยปากกาติดยากกว่า หรือทดสอบด้วยการใช้เล็บขีดหรือขูดบนกระดาษด้วยความเร็ว ถ้าเป็นกระดาษความร้อนจะเกิดรอยสีดำขึ้นบนผิวกระดาษ แต่ถ้าเป็นกระดาษทั่วไปก็จะไม่เกิดรอยสีดำขึ้น

วิธีการนี้ จะช่วยให้เราสามารถแยกกระดาษสลิป/กระดาษใบเสร็จแบบธรรมดาออกจากกระดาษความร้อนได้

วิธีที่ 2. ทดสอบกระดาษด้วยตัวทำละลาย

กระดาษความร้อนหรือ Thermal Paper ทั้งชนิด Top Coat และ Non-Top Coat จะไวต่อตัวทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์ นำ้มัน หรือเหงื่อ หากกระดาษความร้อนสัมผัสกับตัวทำละลายต่าง ๆ พร้อมใช้นิ้วถูเล็กน้อยก็จะเกิดสีดำขึ้นมา แต่ถ้าไม่เกิดสีดำขึ้นแม้แต่น้อย แสดงว่า เป็นเพียงกระดาษธรรมดา ทั้งนี้ กระดาษสลิปชนิด Top Coat คุณภาพดี สีดำอาจจะแตกตัวออกมามากเท่าชนิด Non-Top Coat 

วิธีที่ 3. ทดสอบชิ้นงานที่พิมพ์แล้วด้วยตัวทำละลาย 

เราจะสามารถทดสอบความแตกต่างของกระดาษสลิปชนิด Top Coat และ Non-Top Coat ได้ด้วยการทำให้กระดาษเกิดภาพหรือทดลองพิมพ์ชิ้นงาน จากนั้นใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำมันสัมผัสกระดาษความร้อนโดยตรงหากข้อความที่เกิดภาพก่อนหน้านี้ไม่จางหายไปแสดงให้เห็นว่ากระดาษความร้อนนั้นเป็นชนิด Top coat อย่างแน่นอน ในทางตรงกันข้าม หากลวดลายหรือรูปภาพเลือนจาง หมายความว่า เป็นกระดาษชนิด Non-Top Coat

คำแนะนำในการเลือกซื้อกระดาษสลิป

1. เลือกจากขนาดและการวัดขนาดม้วนกระดาษสลิปให้เหมาะกับเครื่อง

วิธีวัดขนาดม้วนกระดาษสลิป

ข้อสำคัญในการเลือกซื้อม้วนกระดาษสลิปหรือกระดาษสำหรับพิมพ์ใบเสร็จ คือ ขนาดของม้วนกระดาษ เพราะเครื่องพิมพ์ใบเสร็จแต่ละเครื่องรองรับม้วนกระดาษได้ไม่เท่ากัน จึงต้องแน่ใจว่า กระดาษที่เลือกซื้อมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าไหร่ รวมไปถึง ความกว้างของม้วนกระดาษ

แนะนำวิธีวัดขนาดกระดาษดังนี้ 

  • ความกว้าง: วัดจากผิวหน้าด้านซ้ายของม้วนกระดาษความร้อนไปยังด้านขวาของม้วน
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: วัดจากขอบด้านซ้ายของม้วนกระดาษความร้อนผ่านแกนกระดาษไปยังขอบด้านขวา
  • ความยาว: ความยาวของกระดาษความร้อนในม้วนกระดาษ ซึ่งเราไม่สามารถวัดได้นอกจากจะคลี่ม้วนกระดาษความร้อนออกมาวัดโดยส่วนมากมักวัดความยาวจากเส้นผ่านศูนย์กลางและคำนวณออกมาเป็นความยาวต่อม้วน
  • ขนาดแกน: เป็นเส้นผ่านศูนย์กลางแกนที่ใช้สำหรับม้วนกระดาษความร้อนวัดจากด้านในรูของแกนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งในแนวตรงโดยขนาดด้านในรูเรียกว่า ID และขนาดนอกรูเรียก OD

2. เลือกประเภท Top Coat หรือ Non Top Coat

เลือกประเภทกระดาษสลิปหรือกระดาษความร้อนที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยพิจารณาที่ความคงทนของข้อความที่ต้องการ 

  • กระดาษชนิด Top Coat เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการความคงทน เช่น บิลค่าประปา บิลค่าไฟฟ้า
  • กระดาษชนิด Non-Top Coat เหมาะกับชิ้นงานที่ใช้แจ้งข้อมูลหรือใช้งานไม่เกิน 1 วัน เช่น ตั๋วจอดรถ ใบเสร็จร้านสะดวกซื้อ บัตรคิว 

3. เลือกกระดาษสลิป Thermal Paper ที่ปลอดสาร BPA

สาร BPA (Bisphenol A) คือ อีกสารอันตรายที่สามารถซึมเข้าสู่ร่างกายได้เพียงการสัมผัส ซึ่งอาจพบได้ในกระดาษความร้อนโดยเฉพาะชนิด Top Coat เป็นส่วนใหญ่ อันตรายของสาร BPA นั้นมีหลากหลาย โดยสารจะค่อย ๆ สะสมเข้าไปอยู่ในร่างกายจนกระทั่งเกิดความเจ็บป่วยและผลกระทบต่าง ๆ เช่น

  • มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ
  • มีผลต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ 
  • ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคหัวใจ
  • เมื่อสะสมในร่างกายมากจนเกินไปจะไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกาย

เมื่อต้องเลือกซื้อกระดาษสลิปชนิดกระดาษความร้อนใช้ จึงต้องมั่นใจว่า เลือกซื้อกระดาษจากเจ้าที่มีฉลาก BPA Free เพื่อให้ทั้งคนทำธุรกิจและลูกค้าที่รับใบเสร็จปลอดภัย 

POS&Print เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในเรื่องนี้ รับประกันได้ว่า ม้วนกระดาษความร้อนที่เราจำหน่ายปลอดสาร BPA ให้มั่นใจได้ว่าห่างไกลจากสารก่อมะเร็งชนิดนี้ 

กระดาษสลิปปลอดสาร BPA

4. เลือกที่คุณภาพและความคุ้มค่า

เลือกซื้อม้วนกระดาษสลิป กระดาษความร้อน กระดาษใบเสร็จที่มีคุณภาพ มีความหนาตั้งแต่ 56 กรัม ขึ้นไป เพื่อป้องกันกระดาษฉีกขาดระหว่างพิมพ์ เนื้อเหนียวทนทาน 

ทั้งนี้ คุณสามารถวางใจเลือกซื้อม้วนกระดาษสลิป/กระดาษพิมพ์ใบเสร็จกับ POS&Print ได้ ทั้งกระดาษปอนด์ กระดาษความร้อน และกระดาษคาร์บอน รับประกันคุณภาพนำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมความคุ้มค่า ยิ่งซื้อมากยิ่งราคาถูกลง เลือกดูสินค้าทั้งหมด ของเราที่นี่ 

สรุปความแตกต่างของกระดาษสลิป Top Coat และ Non Top Coat

ความแตกต่างระหว่างกระดาษสลิปชนิด Top Coat และ Non-Top Coat ได้แก่ โครงสร้างของเนื้อกระดาษโดยชนิด Top Coat จะมีชั้นเคลือบสารสำหรับป้องกันสารทำละลายชนิดต่าง ๆ เช่น นำ้ นำ้มัน แอลกอฮอล์ ฯลฯ ทำให้กระดาษสลิปชนิดมีสารเคลือบมีความทนทานมากกว่า แตกต่างจากชนิดที่ไม่มีสารเคลือบหรือ Non-Top Coat ที่เมื่อโดยสารทำละลาย ลวดลายหรือข้อความจะเลือนรางไป

เมื่อต้องเลือกซื้อกระดาษสลิป แล้วไม่แน่ใจว่า ควรเลือกชนิด Top Coat หรือ Non-Top Coat ดี แนะนำให้เลือกจากประเภทชิ้นงานที่ต้องการพิมพ์ 

หากเป็นชิ้นงานที่ต้องการความทนทาน ข้อมูลจากสามารถอ่านได้หลายสัปดาห์ไม่เลือนหาย แนะนำชนิด Top Coat แต่หากชิ้นงานเป็นเพียงกระดาษแจ้งข้อมูลที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งหรืออายุการใช้งานไม่เกินหนึ่งวัน เช่น บัตรคิว บัตรจอดรถ กระดาษสลิปชนิด Non-Top Coat จะคุ้มค่ามากกว่า 

ทั้งนี้ หากยังไม่แน่ใจ คุณสามารถติดต่อ POS&Print เรายินดีให้คำปรึกษาและแนะนำการซื้อกระดาษที่คุ้มค่าเหมาะกับการใช้งานของคุณ

แหล่งอ้างอิง