เคยสงสัยไหม ! ว่ากระดาษที่เราใช้ในปัจจุบันนั้นผลิตมาจากอะไร ? ก่อนอื่นวันนี้ #Posandprint จะพาไปรู้จักวิธีการผลิตกระดาษจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
กระดาษ คือ วัสดุที่มีสีขาวเกิดจากการใช้เส้นใยของพืชชนิดต่างๆมาผสานเข้าด้วยกัน อาทิเช่นเส้นใยจาก ต้นยูคาลิปตัส ต้นกระดาษ ต้นสน ต้นปอสา และพืชชนิดอื่นๆอีกหลายชนิดทีมีเส้นใยสีขาวสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษแผ่นบางโดยผ่านวิธีการต่างๆจนเป็นกระดาษสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรก ๆ โดยชาวอียิปต์และชาวจีนโบราณ แต่กระดาษในยุคแรก ๆ เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล มักผลิตขึ้นเพื่อการจดบันทึกเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่าระบบการเขียนคือแรงผลักดันให้เกิดการผลิตกระดาษขึ้นในโลก


ส่วนชาวจีนทำกระดาษจากไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นทำกระดาษจากต้นหม่อน และคนไทยสมัยก่อน ทำกระดาษจากต้นข่อย ที่เรียกว่า สมุดข่อย สมุดไท เป็นต้น ในปัจจุบันมีการผลิตกระดาษจากต้นยูคาลิปตัสและสนเป็นส่วนใหญ่เพราะเนื่องจาก ปลูกง่ายและโตเร็ว

การผลิตกระดาษ ในประเทศไทยนิยมนำไม้ยูคาลิปตัส และไม้สนมาเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ ด้วยการใช้เครื่องจักรตีปอกเปลือกออก หลังจากนั้น ทำการสับ และบดเนื้อไม้ให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการต้มเยื่อ และแยกสารชนิดอื่นออก จากนั้น จะเข้าสู่การบดเยื่อ การฟอกสี การผสมเยื่อ การทำแผ่น การอบแห้ง การเคลือบผิว การขัดผิว การม้วนเก็บ และการตัดแผ่น ซึ่งจะมีรายลเอียดในกระบวนการที่ปลีกย่อยในแต่ละขั้นตอน
ลักษณะของกระดาษแต่ละประเภท
กระดาษอาร์ต (Art Paper) – เป็นกระดาษเนื้อแน่นที่ผ่านการเคลือบผิวให้เรียบ มีทั้งแบบผิวเรียบด้านเดียวและแบบผิวเรียบทั้งสองด้าน แบ่งเป็น 3 ประเภท กระดาษอาร์ตมัน กระดาษอาร์ตด้าน กระดาษอาร์ตการ์ด มีน้ำหนักประมาณ 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร เหมาะกับการพิมพ์สีหรืองานพิมพ์ที่เน้นความสวยงาม เช่น งานพิมพ์โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ ใบปลิว บรรจุภัณฑ์ และแผ่นพับ เป็นต้น (ใช้ได้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์,เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัล,เครื่องพิมพ์ระบบออฟเซท)
- ข้อดี
- ความสวยงามของสีที่พิมพ์ลงบนกระดาษจะชัดเจนและใกล้เคียงสีจริงที่สุด
- มีความมันวาวของกระดาษทำให้สินค้าที่ผลิตด้วยกระดาษชนิดนี้ดูมีมูลค่ามากขึ้น
- เนื้อกระดาษมีความหนากว่ากระดาษทั่วไป
- ข้อเสีย
- ตัวกระดาษมีราคาสูงกว่ากระดาษทั่วไป
- ใช้การพิมพ์จากเครื่องพิมพ์เฉพาะของกระดาษอาร์ตชนิดนั้นๆ
- เหมาะสำหรับ
- งานพิมพ์โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ ใบปลิว บรรจุภัณฑ์ และแผ่นพับ
- นิยมใช้ทำการ์ดงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่ง งานบวช ฯลฯ
- คำแนะนำและข้อควรระวัง
- ไม่ควรเก็บไว้ในที่มีความร้อนและที่ชื้น
กระดาษปอนด์ (Bond Paper) – คือกระดาษที่ผ่านการฟอกขาวและอาจมีส่วนผสมจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ กระดาษไม่เคลือบมีความแกร่งสูง มีน้ำหนักประมาณ 60 – 180 กรัม/ตารางเมตร ปัจจุบันกระดาษปอนด์มักถูกใช้ในการพิมพ์กระดาษหัวจดหมาย ซอง กระดาษพิมพ์เอกสารในสำนักงาน กระดาษสำหรับงานวาดเขียนด้วยปากกาหรือดินสอสี เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความสวยงามปานกลาง เช่น นิตยสาร ,แค็ตตาล็อก ,โบรชัวย์ เป็นต้น (ใช้ได้กับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท,เครื่องพิมพ์เลเซอร์,เครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอล,เครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท)
- ข้อดี
- มีความคงทนเพราะใช้ หมึก สี หรือดินสอในการทำให้เกิดภาพ
- สามารถเก็บได้นานภาพและสีคงทนตามคุณภาพของหมึกหรือสิ่งพิมพ์
- เมื่อพิมพ์สิ่งพิมพ์ลงบนกระดาษแล้วหมึกไม่ซึมทะลุไปด้านหลัง
- ข้อเสีย
- การพิมพ์สีที่มีหลากหลายสีหรือสีที่มีความเข้มข้นสูงลงบนกระดาษจะทำให้สีแห้งช้า
- มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการซื้อหมึกพิมพ์
- เหมาะสำหรับ
- ออกเอกสารสำคัญเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานหรือเพื่อการศึกษาค้นคว้า
- นิยมใช้ในสถานศึกษา สำนักงาน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
- คำแนะนำและข้อควรระวัง
- ไม่ควรเก็บไว้ในที่มีความร้อนและที่ชื้น
กระดาษแบงค์ (Bank Paper) – คือกระดาษที่มีเนื้อกระดาษบางไม่เคลือบผิว กระดาษสีสันสดใสหลากหลายสี ดึงดูดสายตาได้ดีเนื้อกระดาษละเอียด เรียบเนียน ไม่หนามากลักษณะใกล้เคียงกับกระดาษปอนด์ใช้งานได้ดีกับงานพิมพ์เพียงหน้าเดียวมีน้ำหนักประมาณ 55 กรัม/ตารางเมตร เหมาะสำหรับงานพิมพ์เอกสาร เช่น พิมพ์บิล ใบปลิว แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้นเป็นต้นสีที่เป็นที่นิยมคือ สี ชมพู ฟ้า เหลือง เขียว (ใช้ได้กับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท,เครื่องพิมพ์เลเซอร์,เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัล,เครื่องพิมพ์ระบบออฟเซท)
- ข้อดี
- มีความคงทนของสีเพราะใช้หมึก
- สะดวกในการพกพาเพราะตัวกระดาษมีน้ำหนักเบา
- ข้อเสีย
- มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผ้าหมึกเครื่องพิมพ์
- กระดาษเบาบางขาดง่าย
- การพิมพ์ช้าต้องพิมพ์ใบต่อใบทำให้การพิมพ์ใบเสร็จมีความไม่ต่อเนื่อง
- เหมาะสำหรับ
- ใช้สำหรับธุรกิจที่ต้องการเก็บเป็นหลักฐานหรือสำเนาเก็บไว้
- นิยมใช้กันตามร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านรับชำระหนี้ ร้านไปรษณีย์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้ามินิมาร์ท ร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ ธนาคาร และร้านหนังสือ เป็นต้น
- คำแนะนำและข้อควรระวัง
- ไม่ควรเก็บไว้ในที่มีความร้อนและที่ชื้น
กระดาษความร้อน (Thermal Paper) -คือกระดาษที่มีการเคลือบสารเคมีที่ทำให้เกิดภาพเมื่อสัมผัสกับความร้อนโดยตรงโดยไม่ต้องใช้หมึกเป็นตัวกลางในการทำให้เกิดรายละเอียดของภาพกระดาษความร้อนหรือThermal paper นั้นจะแบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 Thermal Top Coat คือกระดาษความร้อนที่เคลือบสารปกป้องจากสารละลายประเภทต่างๆ อาทิเช่น น้ำ แอลกอฮอล์ น้ำมัน และหมึก ตัวอย่างเช่น บิลแจ้งหนี้ไฟฟ้าและประปา
ประเภทที่ 2 Thermal Non Top Coat คือกระดาษความร้อนที่ไม่เคลือบสารปกป้องจากสารละลาย อาทิเช่น น้ำ แอลกอฮอล์ น้ำมัน หมึกและสารละลายอื่นๆ จะทำให้ตัวกระดาษไวต่อการเกิดปฏิกิริยาต่อสารละลายตัวอย่างเช่น บิลสลิป 7-11, Big-C, Lotus (ใช้ได้กับเครื่องพิมพ์แบบความร้อนเท่านั้น)
- ข้อดี
- ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องเปลี่ยนผ้าหมึก
- กระดาษเล็กและเบาพกพาสะดวก
- สามารถพิมพ์ภาพหรือข้อความต่อเนื่องได้ยาวตามความต้องการ
- ประหยัดเวลาในการทำงานเพราะใช้เวลาในการพิมพ์น้อย
- ข้อเสีย
- ไม่สามารถใช้หมึกพิมพ์อื่นๆ ได้
- ราคาสูงกว่าราคากระดาษทั่วไปเพราะไม่ต้องใช้หมึกพิมพ์
- มีความคงทนของภาพพิมพ์น้อยเพราะใช้ความร้อนในการพิมพ์ภาพหรือตัวอักษรต่างๆ
- แสงแดดอุณหภูมิสูง ความชื้น น้ำมัน และพลาสติก มีส่วนทำให้ภาพที่พิมพ์บนกระดาษความร้อนจางหายไป
- เหมาะสำหรับ
- ใช้เป็นใบเสร็จหรือใบสรุปรายการอย่างย่อ
- นิยมใช้กันตามร้านค้าร้านสะดวกซื้อ ร้านรับชำระหนี้ ร้านไปรษณีย์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้ามินิมาร์ท ร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ และร้านหนังสือ เป็นต้น
- คำแนะนำและข้อควรระวัง
- ควรเก็บไว้ในที่ร่ม
- หลีกเลี่ยงแสง อุณหภูมิสูง ความชื้น น้ำมัน และพลาสติก
กระดาษเคมี (Carbonless Receipt Paper) – คือกระดาษใบเสร็จที่มีกระดาษสำเนาในตัว เนื้อกระดาษด้านบนจะเป็นกระดาษแบบธรรมดา ตัวเครื่องพิมพ์จึงจำเป็นต้องมีผ้าหมึก ด้านล่างของกระดาษถูกเคลือบด้วยเม็ดสีที่บรรจุอยู่ในไมโครแคปซูลหรือ สารเคมีรับเม็ดสี กระดาษแผ่นบน (CB) จะถูกเคลือบด้านหลังด้วยไมโครแคปซูลดังกล่าวข้างต้น ในขณะที่ กระดาษแผ่นล่าง (CF) จะถูกเคลือบด้านหน้าด้วยสารเคมีรับเม็ดสี และกระดาษแผ่นกลาง (CFB) จะถูกเคลือบด้วยไมโครแคปซูล และ สารเคมีรับเม็ดสีทั้งด้านหน้าและหลัง เมื่อมีการเขียนบนชุดกระดาษเคมี แรงกดจะทำให้ไมโครแคปซูลแตกและทำให้เม็ดสีที่มองไม่เห็นตกลงมาทำปฏิกิริยากับสารรับ และทำให้เกิดสำเนาขึ้นในลักษณะเดียวกันกับต้นฉบับ กระดาษเคมี ประเภทนี้จะมีราคาที่ถูกกว่ากระดาษความร้อน แต่ต้องเสียต้นทุนในการพิมพ์เพิ่มในการเปลี่ยนผ้าหมึกตลอดการใช้งาน มีตั้งแต่ 2 – 8 ชั้น (ใช้ได้กับเครื่องพิมพ์แบบกระแทก แบบหัวเข็ม หรือเครื่องพิมพ์ Dot Matrix)
- ข้อดี
- มีความคงทนเพราะใช้หมึก
- สามารถเก็บสำเนาได้
- ข้อเสีย
- ต้องเปลี่ยนผ้าหมึก
- การพิมพ์มีความช้า
- ทำให้การพิมพ์ใบเสร็จมีความไม่ต่อเนื่อง
- เหมาะสำหรับ
- ธุรกิจที่ใช้ใบเสร็จที่ต้องการเก็บเป็นหลักฐานหรือสำเนาเก็บไว้
- นิยมใช้กันตามร้านค้าร้านสะดวกซื้อ ร้านรับชำระหนี้ ร้านไปรษณีย์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้ามินิมาร์ท ร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ และร้านหนังสือ เป็นต้น
- คำแนะนำและข้อควรระวัง
- ไม่ควรเก็บไว้ในที่มีความร้อนและที่ชื้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
Website https://posandprint.com/
Facebook Posandprint https://www.facebook.com/posandprint/
ช่อง Youtube Posandprint https://www.youtube.com/channel/UC-yhAyAuoJ6lbVAonDey_VQ
Instagram Posandprint https://www.instagram.com/posandprint/
Line @posandprint (มี@ด้วยนะคะ) หรือคลิก https://lin.ee/fyyB8lLD
โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 098 – 799 – 4253
ส่วนวันหน้า Posandprint จะมีเรื่องดีๆ อะไรมาฝากนั้นสามารถติดตามกันได้ที่ช่องทางการติดต่อด้านบนนะคะ